จากการพิจารณาพรบ.อุ้มหายในรัฐสภาวันนี้ ทำให้ประชาชนเกิดข้อสงสัยว่า
“พรบ.ฉบับนี้ จะเป็นเพียงเอกสารเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้รัฐเท่านั้น หาใช่กฎหมายที่ถูกร่างมาเพื่อปกป้องคุ้มครองชีวิตของประชาชน”
ประเด็นที่ต้องตั้งคำถามมีอยู่ 3 ข้อ ต่อร่างพรบ.นี้ คือ
1. สัดส่วน ภาคประชาสังคม และ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน ที่น้อยกว่าสัดส่วนของคนภาครัฐ เช่น ตำรวจ ทหาร หรือ มหาดไทย
2. มาตรา 13 ที่ว่าด้วยคณะกรรมการฯ ดูเป็นการตั้งคนตามตำแหน่ง หาใช่พิจารณาตามความเหมาะสม
3. “ผู้แทนผู้สูญหาย” ไม่มีการระบุที่ชัดเจน และเป็นช่องว่าง ที่อาจทำให้ผู้สูญหาย หรือ ผู้ถูกกระทำ ไม่ได้รับความเป็นธรรมที่แท้
พรรครวมไทยยูไนเต็ด ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน และเล็งเห็นว่า “พรบ.อุ้มหาย” ควรเกิดขึ้นในประเทศ แต่ต้องให้ความชัดเจนในรายละเอียด กับเนื้อหาให้มากขึ้น และท้ายที่สุดแล้ว ประชาชนควรได้รับโอกาสในการเข้าไปแสดงความคิดเห็น และ ร่วมยกร่าง พรบ.มากกว่านี้