คลองไทย ความเป็นมาและผลที่อาจจะเกิดขึ้น

หลังจากสภาฯตีตกรายงาน “ศึกษาขุดคลองไทย” ด้วยเหตุผลที่ว่ารัฐสภาไม่ควรเป็นธงชี้นำสังคมว่าอะไรควรทำ หรือ อะไรไม่ควรทำ ประเด็นเรื่องคลองไทยจึงได้รับความสนใจมากขึ้น “คลองไทย” ประเด็นนี้ไม่ใช่เป็นประเด็นสำหรับกลุ่มคนใน 5 จังหวัด ที่จะเกิดการขุดคลองเท่านั้น แต่การขุดคลองครั้งนี้ จะหมายถึงภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยที่กำลังจะเปลี่ยนไป รวมถึงการรับมือปัญหากับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า หากประเทศไทยขุดคลองเพื่อสร้างช่องทางเชื่อมจากทะเลอันดามันกับทะเลอ่าวไทย จะสร้างการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการค้าขายทางทะเลอย่างมากทีเดียว หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่ชนะสงคราม ตามข้อตกลงเลิกสถานะสงครามกับประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2489) ได้มีข้อตกลงในข้อที่ 7 ว่าด้วยการห้ามไม่ได้ประเทศไทยขุดคลองเชื่อม 2 มหาสมุทรอันจะก่อให้เกิดการเสียประโยชน์ต่อช่องแคบมะละกา ที่ซึ่งยังคงเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร แต่หลังจากนั้นเพียง 8 ปี ข้อตกลงนั้นก็ถูกยกเลิก ต่อมาในปี 2503 ก็ได้มีคณะศึกษากลุ่มแรกเริ่มทำการศึกษาโครงการขุดคลองขึ้นอีกครั้ง ภายใต้ ในระหว่างนั้นก็เกิดคำสั่งพักการศึกษาเป็นระยะ เนื่องด้วยสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในราชอาณาจักร

พ.ศ. 2513 กระทรวงมหาดไทยได้ว่าจ้างให้บริษัท TAMS ทำการศึกษาอีกครั้งและพบว่าพื้นที่ที่เหมาะสมในการขุดคลองเชื่อมโลกตะวันตกและโลกตะวันออก คือพื้นที่ระหว่างจ.สตูล – สงขลา และหลังจากนั้นก็ได้มีการศึกษามาตลอดเวลา เส้นทางที่เรามักได้ยินที่สุด คือ คลองคอดกระ เส้นทางแนว 1 แนว 2 และแนว 2A ซึ่งเป็นเส้นทางที่ผ่านจ.ระนอง–จ.ชุมพร ความยาวประมาณ 80 ก.ม. แต่ด้วยอุปสรรคในเขิงภูมิศาสตร์ทำให้เส้นทาง 2A ต้องคว่ำลง หลังจากนั้นก็มีความพยายามศึกษาอีกหลายเส้น เช่น เส้นทางแนว 3 คือ แนว 3A แนว 3C เส้นทางแนว 4 เส้นทางแนว 5 แนว 5A (จ.สตูล – สงขลา) เส้นทางแนว 6 และเส้นทางแนว 7 คือ แนว 7A  (จ.ตรัง – สงขลา) ซึ่งแต่ละเส้นทางก็พบปัญหาและข้อจำกัดที่มากมาย จึงทำให้โครงการขุดคลองไทยยังไม่ดำเนินการได้

จากความพยายามในการศึกษาและสร้างทางเชื่อม 2 ฝั่งทะเลไทยก็ได้รับความสนใจอีกครั้งเมื่อเส้นทางใหม่

คลองไทย 9A ได้รับการศึกษา โดยเส้นทางดังกล่าวจะตัดผ่านเกาะลันตา จ.กระบี่ และ ปางเมง อ.สิเกา จ.ตรัง และแนวคลองไทยจะผ่าน อ.วังวิเศษ อ.ห้วยยอด อ.รัษฎา และเข้าเขตจ.นครศรีธรรมราช อ.ทุ่งสง อ.ชะอวด ผ่านเข้าเขตจังหวัดพัทลุง อ.ป่าพะยอม อ.ควนขนุน ทะเลน้อยซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ และตัดออกทะเลอ่าวไทยทิศตะวันออก ที่คลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา เส้นทางดังกล่าวมีขนากความยาวที่มากขึ้นจากเส้น 2A จาก 80 เป็น ระยะทาง 135 กิโลเมตร คาดการณ์งบลงทุนก่อสร้างอยู่ที่มูลค่า 2 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ การขุดคลองไทยไม่ว่าจะเป็นเส้นทางไหน เพื่อลดผลกระทบทางด้านลบให้มากที่สุด และสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่การขุดคลองไทย จำเป็นต้องคำนึก 5 ด้านควบคู่กันไป ได้แก่

1) ทางด้านความอิสระในการบริหารคลองของประเทศ

2) ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

3) ทางด้านยุทธศาสตร์ทางทหาร

4) ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

5) ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการทบทวนอย่างรอบด้าน

พรรครวมไทยยูไนเต็ดเห็นด้วยอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจส่งส่วนต่าง ๆ รวมทั้งการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษขวานทองภาคใต้ (GASEZ) แต่ทั้งนี้ประชาชนในพื้นที่จะต้องได้รับการสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงสิ่งที่กำลังอาจจะเกิดขึ้นว่า “คลองไทย 9A” นั้นจะส่งผลต่อชีวิต และ การดำเนินชีวิตของตนอย่างไรบ้าง ทั้งในทางบวกและทางลบ และ เสียงของพวกเขาต้องได้รับการรับฟังเป็นที่สุดผ่านการจัดทำประชามติเพื่ออนุมัติหรือไม่อนุมัติให้เกิดโครงการขนาดใหญ่แบบนี้ในพื้นที่บ้านเกิดของพวกเขา 

บทความนี้เป็นเพียงการกล่าวถึงความเป็นมาของคลองไทย ซึ่งไม่ใช่เป็นประเด็นใหม่ และมีการศึกษาเส้นทางขุดคลองมาแล้วตั้งแต่ปี 2503 โดยเส้นทางปัจจุบันที่เป็นประเด็นตอนนี้คือเส้น 9A ที่ผ่าน 5จังหวัด ซึ่งแน่นอนว่าเกิดข้อถกเถียงเป็นวงกว้างทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ประเด็นที่ถกเถียงเริ่มจากเรื่องปากท้องของชาวบ้านในพื้นที่ จนกระทั่งสิ่งแวดล้อมภาพรวมของประเทศ โดยในบทความต่อไปจะกล่าวถึงผลกระทบที่เกิดการถกเถียงกันในปัจจุบัน “รวมกันคิด รวมกันทำ รวมกันสร้าง” ประโยคนี้จะเป็นจริงได้ พรรครวมไทยยูไนเต็ดเชื่อว่าเราต้องสื่อสารและเสนอความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อให้ทุกคนรับทราบและรวมกันคิดรวมกันตัดสินใจ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *