Ruamthai United

เปิดรับสมัครว่าที่ ส.ส.พรรครวมไทยยูไนเต็ด

รับสมัครว่าที่ ส.ส.รวมไทยยูไนเต็ด ร่วมพลิกโฉมประเทศไทยไปกับเรา ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30  สิงหาคม 65 รายละเอียดการสมัคร ผู้ที่สนใจสมัครจะต้องไม่เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร และโปรดดำเนินการเตรียมข้อมูลและเอกสารดังต่อไปนี้ คลิปแนะนำตัวเอง ”ทำไมคุณจึงมีความเหมาะสมเป็น ส.ส.รวมไทยยูไนเต็ด”และหากคุณได้เป็น ส.ส. พรรครวมไทยยูไนเต็ด คุณอยากทำหรือผลักดันประเด็นอะไร” (คลิปไม่เกิน 3-5 นาที) ข้อมูลประวัติส่วนบุคคล ที่ประกอบด้วย ภาพถ่ายหน้าตรง ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เบอร์โทร อีเมล ประวัติการทำงาน และประวัติการศึกษา และประเด็นที่ตนเองสนใจ หรือมีความถนัดเป็นพิเศษ (ไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ) หากท่านกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว โปรดพิมพ์ตอบ ผ่านคำถามดังต่อไปนี้ คุณคิดว่าบทบาทหน้าที่ผู้แทนราษฎรคืออะไร เพราะอะไร อะไรที่ทำให้คุณสนใจอยากเข้ามาทำงานการเมือง เพราะอะไร คุณคิดว่าประเทศไทยอะไรเป็นปัญหาที่ควรถูกแก้ไขมากที่สุด เพราะอะไร และมีวิธีการหรือแนวทางแก้ไขอย่างไร พลิกโฉมในความหมายของคุณคืออะไร และคิดว่าเราสามารถพลิกโฉมประเทศไทยได้หรือไม่ เพราะอะไร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line: @RTUPARTY (มี@) หรือ คลิก 

พรบ.อุ้มหาย ต้องไม่ใช่ปาหี่บทใหม่ของสังคมไทย

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เรื่อง “พรบ.ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและบังคับให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …” ได้รับการรับรองจากการประชุมสภาฯ โดยที่ประชุมมีมติในวาระสาม เห็นชอบกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วยคะแนน 359 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง พรรครวมไทยยูไนเต็ด ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะจับตาการเดินทางของ พรบ.อุ้มหาย ที่ต้องเป็นมากกว่ากระดาษหรือกฎหมายประดับสังคมไทย ในอดีตที่ผ่านมา เราจะเห็นข่าวการอุ้มหายของนักเคลื่อนไหวทางสังคมคนสำคัญในสังคมไทย บางคนหายไปกลางเมืองหลวง บางคนหายไปก่อนการเดินทางประชุมนานาชาติเพียง 1 วัน บางคนก็หายไปในเส้นทางธรรมชาติที่ตนเองใช้เดินทางกลับบ้าน หรือ บุคคลทั่วไปที่โดนซ้อมทรมานจนถึงชีวิตโดยผู้พิทักษ์สันติราษฏร์ ประชาชนเหล่านั้น มีสิทธิที่ต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐ หากแต่ที่ผ่านมาพวกเขาและญาติผู้เสียหาย ไม่ได้รับการดูแลหรือคุ้มครองใดๆเลย พรบ.อุ้มหายจะเป็นหลักประกันใหม่ของสังคมไทย ว่ารัฐจะปกป้องรักษาสิทธิในชีวิตและร่างกายของประชาชนอย่างดีที่สุด หากแต่พรบ.ฉบับดังกล่าวนี้ ต้องได้รับการปรับแก้และผ่านที่ประชุมรับรองของทาง สว. ภายใน 60 วัน ซึ่งเราคิดว่าพรบ.ดังกล่าวน่าจะผ่านในชั้น สว. ได้อย่างไม่มีปัญหา และเมื่อพรบ.ดังกล่าวได้รับการประกาศใช้ บททดสอบความจริงใจของภาครัฐต่อการปกป้องชีวิตประชาชนจะเกิดขึ้น ผ่านการทำงานและขั้นตอนที่ครอบคลุม ปลอดภัย และชัดเจน ทุกการเดินทางของพรบ.อุ้มหาย และ การดำเนินคดีภายในพรบ.นี้ ในอนาคต …

พรบ.อุ้มหาย ต้องไม่ใช่ปาหี่บทใหม่ของสังคมไทย Read More »

พรบอุ้มหาย คุ้มครองคน หรือ คุ้มครองหน่วยงานรัฐ?

จากการพิจารณาพรบ.อุ้มหายในรัฐสภาวันนี้ ทำให้ประชาชนเกิดข้อสงสัยว่า  “พรบ.ฉบับนี้ จะเป็นเพียงเอกสารเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้รัฐเท่านั้น หาใช่กฎหมายที่ถูกร่างมาเพื่อปกป้องคุ้มครองชีวิตของประชาชน” ประเด็นที่ต้องตั้งคำถามมีอยู่ 3 ข้อ ต่อร่างพรบ.นี้ คือ 1. สัดส่วน ภาคประชาสังคม และ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน ที่น้อยกว่าสัดส่วนของคนภาครัฐ เช่น ตำรวจ ทหาร หรือ มหาดไทย  2. มาตรา 13 ที่ว่าด้วยคณะกรรมการฯ ดูเป็นการตั้งคนตามตำแหน่ง หาใช่พิจารณาตามความเหมาะสม  3. “ผู้แทนผู้สูญหาย” ไม่มีการระบุที่ชัดเจน และเป็นช่องว่าง ที่อาจทำให้ผู้สูญหาย หรือ ผู้ถูกกระทำ ไม่ได้รับความเป็นธรรมที่แท้ พรรครวมไทยยูไนเต็ด ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน และเล็งเห็นว่า “พรบ.อุ้มหาย” ควรเกิดขึ้นในประเทศ แต่ต้องให้ความชัดเจนในรายละเอียด กับเนื้อหาให้มากขึ้น และท้ายที่สุดแล้ว ประชาชนควรได้รับโอกาสในการเข้าไปแสดงความคิดเห็น และ ร่วมยกร่าง พรบ.มากกว่านี้

ระบบสาธารณสุขไทย ดีกับทุกคน หรือดีแค่กับเฉพาะ VIP

เชื่อหรือไม่? ในปี 2019 ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นที่ 6 โลกเรื่องการจัดการระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุด จากผลสำรวจของ CEOWORLD แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่ประชาชนอย่างเราต้องเผชิญเรียกได้ว่าต่ำตมที่สุด ตรงข้ามกับผลสำรวจโดยสิ้นเชิง และทุกอย่างเริ่มเลวร้ายดิ่งลงเหวเมื่อรัฐบาลจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นมาครองอำนาจนานถึง 7 ปี การเข้าถึงวัคซีนที่คนต้องเข้าคิวกันอย่างแออัดจนเกิดการติดเชื้อขึ้นในคลัสเตอร์สถานีกลางบางซื่อที่คนชนชั้นกลางถึงชนชั้นล่างต้องรับสวัสดิการแบบชิงโชค รวมไปถึงเคสกรณีของการจัดหาเตียงสำหรับผู้ป่วย COVID-19 ที่เรียกได้ว่าไม่เหลือพื้นที่ให้ใครในโรงพยาบาลสำหรับคนชนชั้นกลางไปจนถึงชนชั้นล่างจนกระทั่งมีผู้ป่วยที่ต้องเสียชีวิตข้างถนนอย่างน่าอนาถ และรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่รีบแก้ไขปัญหาใด ๆ ราวกับเห็นชีวิตผู้คนเป็นผักปลาไม่มีค่าสำหรับพวกเขาเลยสักนิด และทั้งหมดนี้คือความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงรัฐสวัสดิการของประชาชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ อภิสิทธิ์ชนที่เรียกได้ว่ามีอำนาจหรือสิทธิเหนือชนชั้นอื่นถูกรับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประชาชนอย่างเรา ๆ ต้องก้มหน้ายอมรับความจริง ประเทศที่ VVIP เป็นใหญ่ หรือที่ว่าระบบสาธารณสุขเราที่เค้าว่าดีที่สุดเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย คือดีกับผู้มีอภิสิทธิ์ชนกันแน่? คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อความจริงที่ทุกคนเผชิญอยู่ทุกวันจนเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติไปแล้ว สิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่เราต้องรับให้ได้จริงหรือ? ปัญหาที่ฝังรากลึกลงไปถึงความเสมอภาคของสังคมที่ต้องเรียกว่ามีราษฎรเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แต่เหตุใดเรายังถึงต้องตั้งคำถามกับความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนี้เราสามารถตั้งคำถามและเรียกร้องได้เสมอหากประเทศไทยถูกขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศแห่งประชาธิปไตยจริง แต่ก็น่าเสียดายที่ประชาชนอย่างเรา ๆ ในตอนนี้ถูกปิดกั้นความคิดและสิทธิเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็น  แต่ประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร เมื่อประชาธิปไตยไม่มีอยู่จริง และทั้งหมดนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความเป็นอยู่และสิทธิมนุษยชนความเสมอภาคของประชาชนด้วย หากคุณต้องการแสดงความคิดเห็นด้านความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสวัสดิการของประชาชนหรือเรื่องอื่นๆด้านสิทธิมนุษยชน ร่วมแสดงความคิดเห็นและพูดคุยได้ผ่านโพสต์นี้ อย่าเก็บไว้ เพราะการรับฟังและปรับปรุงคือหน้าที่ของรัฐบาล

คลองไทย ความเป็นมาและผลที่อาจจะเกิดขึ้น

หลังจากสภาฯตีตกรายงาน “ศึกษาขุดคลองไทย” ด้วยเหตุผลที่ว่ารัฐสภาไม่ควรเป็นธงชี้นำสังคมว่าอะไรควรทำ หรือ อะไรไม่ควรทำ ประเด็นเรื่องคลองไทยจึงได้รับความสนใจมากขึ้น “คลองไทย” ประเด็นนี้ไม่ใช่เป็นประเด็นสำหรับกลุ่มคนใน 5 จังหวัด ที่จะเกิดการขุดคลองเท่านั้น แต่การขุดคลองครั้งนี้ จะหมายถึงภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยที่กำลังจะเปลี่ยนไป รวมถึงการรับมือปัญหากับสิ่งที่จะเกิดขึ้น เราปฏิเสธไม่ได้ว่า หากประเทศไทยขุดคลองเพื่อสร้างช่องทางเชื่อมจากทะเลอันดามันกับทะเลอ่าวไทย จะสร้างการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการค้าขายทางทะเลอย่างมากทีเดียว หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่ชนะสงคราม ตามข้อตกลงเลิกสถานะสงครามกับประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2489) ได้มีข้อตกลงในข้อที่ 7 ว่าด้วยการห้ามไม่ได้ประเทศไทยขุดคลองเชื่อม 2 มหาสมุทรอันจะก่อให้เกิดการเสียประโยชน์ต่อช่องแคบมะละกา ที่ซึ่งยังคงเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร แต่หลังจากนั้นเพียง 8 ปี ข้อตกลงนั้นก็ถูกยกเลิก ต่อมาในปี 2503 ก็ได้มีคณะศึกษากลุ่มแรกเริ่มทำการศึกษาโครงการขุดคลองขึ้นอีกครั้ง ภายใต้ ในระหว่างนั้นก็เกิดคำสั่งพักการศึกษาเป็นระยะ เนื่องด้วยสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2513 กระทรวงมหาดไทยได้ว่าจ้างให้บริษัท TAMS ทำการศึกษาอีกครั้งและพบว่าพื้นที่ที่เหมาะสมในการขุดคลองเชื่อมโลกตะวันตกและโลกตะวันออก คือพื้นที่ระหว่างจ.สตูล – สงขลา และหลังจากนั้นก็ได้มีการศึกษามาตลอดเวลา เส้นทางที่เรามักได้ยินที่สุด คือ คลองคอดกระ เส้นทางแนว 1 แนว 2 …

คลองไทย ความเป็นมาและผลที่อาจจะเกิดขึ้น Read More »

เงินเด็กแรกเกิด ช่วยได้ หรือ แค่ได้ช่วย?

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีการจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เพื่อใช้ในการช่วยเหลือเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดที่อยู่ในครอบครัวรายได้น้อย ให้เด็กได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัย และเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชน ปัจจุบันรัฐบาลจึงได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับสวัสดิการอุดหนุนเด็กแรกเกิด ซึ่งจะเป็นการจ่ายเงินให้กับเด็กคนละ 600บาท ต่อเดือน เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ‘ เงินจำนวน 600 บาท’ ที่เมื่อคำนวณเฉลี่ยออกมาแล้ว จะตกอยู่ที่วันละ 20บาทเท่านั้น คำถามที่เกิดขึ้นตามมา ก็คือ 20 บาท ต่อวัน เพียงพอกับการดูแลเด็ก 1 คนแล้วหรือ ? และ ทำไมประเทศไทยถึงลงทุนกับการพัฒนาเด็ก ได้เพียงแค่วันละ 20บาทเท่านั้น ? ไม่เพียงแค่นั้น การเข้าถึงสิทธิ ความยุ่งยากซับซ้อนในขั้นตอนการขอเข้าร่วมโครงการ ไปจนถึงหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน ทำให้มีประชาชนอีกจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการพื้นฐานอันนี้ ‘ สวัสดิการพื้นฐานที่ควรจะเป็นสวัสดิการถ้วนหน้า ไม่ใช่สวัสดิการแบบคัดกรอง ‘ รัฐต้องทำให้สวัสดิการเป็นสิ่งที่ประชาชนเข้าถึงได้จริง เพื่อให้ทุกคนได้รับการช่วยเหลือ แบบช่วยได้ ไม่ใช่แค่ได้ช่วยไปวันๆ พรรครวมไทย ยูไนเต็ด จึงมีแนวคิดและข้อเสนอว่า จะต้องผลักดันโครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดให้เป็นสวัสดิการถ้วนหน้า และเด็กต้องได้รับเงินมากกว่า 600บาทต่อเดือน หรือ 20บาทต่อวัน เพราะหากเราไม่ให้ความสำคัญในการพัฒนาเด็กตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน …

เงินเด็กแรกเกิด ช่วยได้ หรือ แค่ได้ช่วย? Read More »

จากครรภ์มารดา สู่เชิงตะกอน ในสังคมที่ไร้รัฐสวัสดิการ

จากข้อเขียนที่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เคยได้เขียนไว้ใน “จากครรภ์มารดา สู่เชิงตะกอน” ซึ่งสะท้อนถึงยุคสมัยนั้นของการไม่มี #รัฐสวัสดิการ ให้กับประชาชน จนมาถึงปัจจุบันนี้ ความหวังของประชาชนในเรื่อง “รัฐสวัสดีการ” ก็ยังคงดูริบหรี่ลงอยู่เช่นกัน การดูแลคนตั้งเเต่เกิดจนตาย ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนทุกคนควรได้รับการดูแลจากรัฐ นี่เป็นมาตราฐานสากลที่หลายประเทศให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาความยากจน รวมถึงความเหลื้อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม และถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยควรมีรัฐสวัสดิการ ที่เป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

เด็กเร่ร่อน ความสดใสที่ถูกสังคมทำลาย

เด็กเหล่านี้ล้วนเป็นผลผลิตอันไม่ชอบธรรมในการกระจุกอำนาจความเจริญในตัวเมืองหลวง ความยากจนข้ามรุ่นยิ่งย้ำความรุนแรงและบีบให้คนกลุ่มหนึ่งกลายเป็นคนไร้ที่อยู่ ช่วงชีวิตสดใสของเด็กเหล่านั้นถูกทำลายลงไปโดยที่พวกเขาไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลย

น้ำมันแพง ปัญหาปากท้องที่ประชาชนจำต้องจ่าย มันถูกต้องแล้วหรือ ?

จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศกำลังประสบปัญหาโรคระบาด และปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือที่คนไทยมักพูดกันว่า “ยุคของข้าวยากหมากแพง” ซึ่งประชาชนผู้เป็นเจ้าของภาษีจำต้องแบกรับภาระราคาสินค้าแพง ค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการปรับตัวของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นรายวันอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดลง และหากรัฐยังปล่อยให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ก็จะทำให้ราคาสินค้าอื่นๆ ปรับขึ้นตาม อันเนื่องมาจากราคาต้นทุนทางด้านการขนส่ง และการคมนาคมที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น แล้วใครต้องแบกรับหากไม่ใช่ประชาชนอย่างเราๆ . และจากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีผลสำรวจ FTI Poll คาดการณ์ว่าราคาสินค้าแพงจะยาวนานแค่ไหน อันดับแรกบอกว่าจะยาวนาน 3-6 เดือน 35.3% อันดับที่ 2 คาดว่าจะยาวนานไปอีก 6-12 เดือน 34.7% และอันดับที่ 3 คาดว่าจะยาวนานมากกว่า 1 ปี 30.0% จากผลสำรวจ จะเห็นว่าปัญหานี้ หากรัฐบาลยังเพิกเฉย ไม่ยอมแก้ปัญหาให้กับประชาชนอย่างจริงจัง จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวนมาก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า “เดือดร้อนกันถ้วนหน้า แพงทั้งแผ่นดิน” ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างแน่นอน …

น้ำมันแพง ปัญหาปากท้องที่ประชาชนจำต้องจ่าย มันถูกต้องแล้วหรือ ? Read More »

แรงงานนอกระบบ ที่ระบบไม่สนใจ ถ้าให้เราเป็นรัฐบาล แรงงานนี้จะไม่ถูกละเลย !

37.92 ล้านคน คือ แรงงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และมีจำนวน 54% หรือ 20.36 ล้าน เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีระบบคุ้มครอง ไม่มีประกันความมั่นคงในชีวิตให้แก่คนกลุ่มดังกล่าว หากคนกลุ่มนี้เกิดอุบัติเหตุ หรือ มีเหตุอันทำให้ทำงานไม่ได้ ระบบเศรษฐกิจไทยจะเกิดการชะลอตัวมากขึ้น ทำให้เกิดจำนวนคนจนเมือง และคนจนมากขึ้น ดึงให้ประเทศกลับไปอยู่ในจุด “กำลังพัฒนาที่ถอยหลังลงคลอง” แม้ในปัจจุบันจะมี พ.ร.บ.ประกันสังคม มาตรา 40 สำหรับรองรับแรงงานนอกระบบแต่ก็ยืนยันไม่ได้ได้ว่า ทุกคนในกลุ่มแรงงานกลุ่มนี้ จะได้เข้าระบบและได้รับการคุ้มครอง (จำนวนล่าสุดคนที่ลงทะเบียนมีจำนวน 6,172,797 คน คิดเป็น 30%) แต่อย่างไรก็ดีสิทธิที่มาตรา 40 ระบุไว้นั้น ก็ไม่ทำสร้างความมั่นคงทั้งในชีวิตและการงานให้กับคนกลุ่มนี้ได้ อาทิเช่น พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้ พวกเขาไม่สามารถรวมตัวเรียกร้องสิทธิที่พวกเขาพึ่งได้รับได้ เป็นต้น จากข้อจำกัดดังกล่าวนั้น นั่นหมายถึงว่า พวกเขาไม่สามารถยกระดับร้านข้าวแกงข้างถนนให้เป็นร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าได้ พวกเขาไม่สามารถรวมตัวเรียกร้องการคุ้มครองจากถูกกกลุ่มอิทธิพลรีดไถ่ได้ และ แรงงานนอกระบบกลุ่มนี้ จะขาดการส่งเสริมจากระบบภาครัฐในการยกระดับอาชีพตนเอง และ หลุดพ้นจากวงจรอุบาทที่เรียกว่า “Inter-Generational Poverty” ดังนั้นมาตรา 40 อาจจะเป็นระบบที่ไม่เหมาะสำหรับสถานการณ์แรงงานไทยในปัจจุบัน จะดีกว่าหรือไม่? ถ้าเราผลักดันให้ร่าง …

แรงงานนอกระบบ ที่ระบบไม่สนใจ ถ้าให้เราเป็นรัฐบาล แรงงานนี้จะไม่ถูกละเลย ! Read More »