บ่อยครั้งที่เราเห็นข่าวทางโทรทัศน์ หรือโซเชียลมีเดีย ที่มีผู้ใจบุญบริจาคสิ่งของ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้า หรือแม้กระทั่งสิ่งของอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐาน ให้กับผู้คนบนดอย สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงสวัสดิการ และสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยคนหนึ่งควรจะได้รับ โดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 22 มนุษย์มีสิทธิที่จะได้รับการดูแลจากรัฐ บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงหลักประกันทางสังคม
ซึ่งหมายถึงหลักประกันสุขภาพ การดำรงชีพ ความปลอดภัยในชีวิต เพื่อให้พัฒนาตนเองได้อย่างอิสระและสามารบรรลุสิทธิอื่นทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อันจำเป็นอย่างยิ่งต่อการคงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง
ดังนั้น อย่างแรกที่ต้องทำการปฏิรูป ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง คือ การปกครองในระดับท้องถิ่น
ต้องให้พื้นที่หรือเสรีภาพในการพูดของตัวแทนจากท้องถิ่นนั้นๆ แสดงความคิดเห็น หรือข้อเท็จจริงที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้ หลังจากนั้น ภาครัฐต้องทำการส่งเสริมหรือผลักดันให้เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่เป็นบ่อเกิดของรายได้ บริการสาธารณสุข ที่สามารถเข้าถึงและได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ
และสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะรับอย่างเท่าเทียมกัน เพียงเท่านี้ก็จะสามารถลดช่องว่างความเหลี่อมล้ำระหว่างผู้คนด้านล่างกับคนบนดอย และสังคมไทยจะไม่ใช่สังคมแห่งการบริจาคอีกต่อไป