จากการระบาดโควิด 19 ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ทำให้ส่งผลผลกระทบในการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างมาก ทั้งพนักงานเอกชน พ่อค้าแม้ค้า และกลุ่มคนที่หาเช้ากินค่ำ ต่างก็ได้รับผลกระทบกันไปหมด ถึงแม้รัฐบาลจะมีมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาช่วยเหลือประชาชนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีประชาชนอีกหลายกลุ่มที่เข้าไม่ถึงสิทธิหรือสวัสดิการที่รัฐจัดให้ ประชาชนหลายต้องตกงาน หรือขาดรายได้ในการดำรงชีวิต หรือเลี้ยงครอบครัวของตนเองได้
จากการศึกษาข้อมูลพบว่า สถานการณ์การว่างงานในไตรมาส 3 ของปี 2564 โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่มีการระบาดของโควิด คิดเป็นอัตราการว่างงาน 2.25% (ข้อมูลอ้างอิงจาก สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. https://bit.ly/3sH1tyw)
ข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การที่มีประชาชนตกงานจำนวนมาก ทำให้มีผลกระทบไปยังครอบครัว หรือคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคนเหล่านั้น โดยเฉพาะลูก หลานที่ยังต้องเรียนหนังสือ มีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่ต้องออกจากระบบการศึกษา เพียงเพราะพิษทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด 19 และการบริหารงานที่ล้มเหลวของรัฐบาล
ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มีนักเรียนยากจนพิเศษเพิ่มขึ้นสูงเป็นสถิติใหม่ถึง 1,244,591 คน หรือคิดเป็น 19.98% ของนักเรียนทั้งหมด สร้างสถิติสูงสุดเมื่อเทียบจากเทอม 1/2563 ที่มีนักเรียนยากจนพิเศษจำนวน 994,428 คน หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 250,163 คน (ข้อมูลอ้างอิงจาก https://bit.ly/3sCtyXJ) ประเทศไทยมีกองทุนด้านการศึกษาอยู่หลายกองทุน แต่ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเด็กไทยถึงยังเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา จากพิษเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นของการระบาดโควิด 19 ทำให้เด็กหลุดออกนอกระบบจำนวนมากจากข้อมูลที่กล่าวข้างต้น
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่กองทุนด้านการศึกษา โดยเฉพาะกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ต้องให้การสนับสนุนเงินทุนและสร้างอาชีพให้กับเด็ก การรับทุนต้องลดเงื่อนไขให้ง่ายกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าหากเราทำได้ เด็กหลายคนก็อาจจะไม่หลุดออกนอกระบบอีกเลย