37.92 ล้านคน คือ แรงงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และมีจำนวน 54% หรือ 20.36 ล้าน เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีระบบคุ้มครอง ไม่มีประกันความมั่นคงในชีวิตให้แก่คนกลุ่มดังกล่าว หากคนกลุ่มนี้เกิดอุบัติเหตุ หรือ มีเหตุอันทำให้ทำงานไม่ได้ ระบบเศรษฐกิจไทยจะเกิดการชะลอตัวมากขึ้น ทำให้เกิดจำนวนคนจนเมือง และคนจนมากขึ้น ดึงให้ประเทศกลับไปอยู่ในจุด “กำลังพัฒนาที่ถอยหลังลงคลอง”
แม้ในปัจจุบันจะมี พ.ร.บ.ประกันสังคม มาตรา 40 สำหรับรองรับแรงงานนอกระบบแต่ก็ยืนยันไม่ได้ได้ว่า ทุกคนในกลุ่มแรงงานกลุ่มนี้ จะได้เข้าระบบและได้รับการคุ้มครอง (จำนวนล่าสุดคนที่ลงทะเบียนมีจำนวน 6,172,797 คน คิดเป็น 30%) แต่อย่างไรก็ดีสิทธิที่มาตรา 40 ระบุไว้นั้น ก็ไม่ทำสร้างความมั่นคงทั้งในชีวิตและการงานให้กับคนกลุ่มนี้ได้ อาทิเช่น พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้ พวกเขาไม่สามารถรวมตัวเรียกร้องสิทธิที่พวกเขาพึ่งได้รับได้ เป็นต้น
จากข้อจำกัดดังกล่าวนั้น นั่นหมายถึงว่า พวกเขาไม่สามารถยกระดับร้านข้าวแกงข้างถนนให้เป็นร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าได้ พวกเขาไม่สามารถรวมตัวเรียกร้องการคุ้มครองจากถูกกกลุ่มอิทธิพลรีดไถ่ได้ และ แรงงานนอกระบบกลุ่มนี้ จะขาดการส่งเสริมจากระบบภาครัฐในการยกระดับอาชีพตนเอง และ หลุดพ้นจากวงจรอุบาทที่เรียกว่า “Inter-Generational Poverty” ดังนั้นมาตรา 40 อาจจะเป็นระบบที่ไม่เหมาะสำหรับสถานการณ์แรงงานไทยในปัจจุบัน
จะดีกว่าหรือไม่? ถ้าเราผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ #พรรครวมไทยยูไนเต็ด ขอเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้ เพื่อให้ประชาชนแรงงานนอกระบบทุกคน ให้ได้มีการรองรับและประกาศ พ.ร.บ. นี้ เพื่อเป็นก้าวใหม่ที่สำคัญในการ “สร้างระบบคุ้มครอง ดูแล และ รับประกัน” แรงงานนอกระบบจะมีระบบอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าให้เราพรรครวมไทยยูไนเต็ดได้ดูแล
Sources:
– WIEGO statistical Brief No. 20 (September 2019)
– สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2563 : แรงงานในประเทศไทย
– สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (9 สิงหาคม 64) : ยอดจำนวนผู้ประกันตนทั่วประเทศ (https://www.facebook.com/ssofanpage/photos/สำนักงานประกันสังคม-เผยยอดจำนวนผู้ประกันตนทั่วประเทศ-ประจำเดือนกรกฎาคม-2564/4240015092743949/)
– สำนักนโยบายแรงงานนอกระบบ (31 สิงหาคม 64): อนาคตกับการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของไทย